จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การส่งมอบ

หมวด 2
                           หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย
                                            ส่วนที่ 1
                                          การส่งมอบ
 
    มาตรา 461 ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งขายนั้นให้แก่ผู้ซื้อ

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย

ลักษณะ 1/1
                               ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
     มาตรา 135/1 ผู้ใดกระทำการอันเป็นความผิดอาญาดังต่อไปนี้
     (1) ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตราย
อย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ
     (2) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ
ระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
     (3) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของ
บุคคลใดหรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ
อย่างสำคัญ
     ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาล
ต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิด
ความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่
ประชาชน ผู้นั้นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอด
ชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท
     การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐ
ช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการ
กระทำความผิดฐานก่อการร้าย      มาตรา 135/2 ผู้ใด

การโอนกรรมสิทธิ์

ส่วนที่ 2
                                   การโอนกรรมสิทธิ์
    มาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำ
สัญญาซื้อขายกัน    มาตรา 459 ถ้าสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์ใน

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ซื้อขาย

บรรพ 3
                                      เอกเทศสัญญา
                                          ลักษณะ 1 
                                           ซื้อขาย
                                         หมวด 1 
                    สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย                 
                                        ส่วนที่ 1 
                                 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป                            
    มาตรา 453 อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์
แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สิน
นั้นให้แก่ผู้ขาย
    

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นิรโทษกรรม

หมวด 3
                                         นิรโทษกรรม
 
    มาตรา 449   บุคคลใดเมื่อกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายก็ดีกระทำตาม
คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี   หากก่อให้เกิดเสียหายแก่ผู้อื่นไซร้ท่านว่าบุคคลนั้น
หาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
    ผู้ต้องเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบ
ด้วยกฎหมาย หรือจากบุคคลผู้ให้คำสั่งโดยละเมิดนั้นก็ได้

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

หมวด 2
                              ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
 
    มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตาม
ควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
    อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด
หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่าง
ใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย     

ความรับผิดเพื่อละเมิด

ลักษณะ 5
                                             ละเมิด
                                           หมวด 1
                               ความรับผิดเพื่อละเมิด
 
    มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ   ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขา
เสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิ
อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ลาภมิควรได้

ลักษณะ 4
                                         ลาภมิควรได้
 
    มาตรา 406 บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อ
ชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และ
เป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่
เขา   อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อ
ชำระหนี้ด้วย
    บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มา เพราะเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จัดการงานนอกสั่ง

ลักษณะ 3
                                   จัดการงานนอกสั่ง
    มาตรา 395 บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือ
โดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้อง
จัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของ
ตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ      มาตรา 396 ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้น เป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของ

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เลิกสัญญา

  หมวด 4
                                         เลิกสัญญา
 
    มาตรา 386 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติ
แห่งกฎหมาย   การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
    แสดงเจตนาดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่

ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ

หมวด 4
                         ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ
    มาตรา 130 ผู้ใดทำร้ายร่างกายหรือประทุษร้ายต่อเสรีภาพของราชาธิบดี ราชินี
ราชสามี รัชทายาทหรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ซึ่งมีสัมพันธไมตรี ต้องระวางโทษ
จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี
    ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มัดจำและเบี้ยปรับ

  หมวด 3
                                    มัดจำและเบี้ยปรับ
    มาตรา 377 เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำ
นั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นประกัน
การที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย    มาตรา 378 มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นท่านให้เป็นไปดั่งจะกล่าวต่อไปนี้

ผลแห่งสัญญา

หมวด 2
                                     ผลแห่งสัญญา
    มาตรา 369 ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่า
อีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ
ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด    มาตรา 370   ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอน

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หนี้เกลื่อนกลืนกัน

ส่วนที่ 5
                                   หนี้เกลื่อนกลืนกัน
 
    มาตรา 353 ถ้าสิทธิและความรับผิดในหนี้รายใดตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน ท่านว่า
หนี้รายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เว้นแต่เมื่อหนี้นั้นตกไปอยู่ในบังคับแห่งสิทธิของบุคคล
ภายนอก หรือเมื่อสลักหลังตั๋วเงินกลับคืนตามความในมาตรา 917 วรรค 3
 

ก่อให้เกิดสัญญา

                                           ลักษณะ 2
                                              สัญญา
                                              หมวด 1
                                       ก่อให้เกิดสัญญา
 
    มาตรา 354 คำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้นท่านว่าไม่อาจจะ
ถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แปลงหนี้ใหม่

                                            ส่วนที่ 4
                                        แปลงหนี้ใหม่

        มาตรา 349 เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ไซร้
ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่
ถ้าทำหนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อัน
ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เปลี่ยนเงื่อนไขก็ดี ท่านถือว่าเป็นอันเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ
แห่งหนี้นั้น
        ถ้าแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่ง
ประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้อง

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร

                                         หมวด 3
              ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร
 
     มาตรา 119 ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใด
ของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราช
ของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต 

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โอนสิทธิเรียกร้อง

หมวด 4 โอนสิทธิเรียกร้อง
    มาตรา 303 สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าจะพึงโอนกันได้ เว้นไว้แต่สภาพแห่งสิทธินั้นเอง
จะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้
    ความที่กล่าวมานี้ย่อมไม่ใช้บังคับ หากคู่กรณีได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นการแสดง
เจตนาเช่นว่านี้ ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต 

ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน

  หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน
    มาตรา 290 ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระได้ และมีบุคคลหลายคน
เป็นลูกหนี้ก็ดี มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าลูกหนี้
แต่ละคนจะต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนเท่าๆกัน และเจ้าหนี้แต่ละคนก็ชอบที่จะได้รับ
แต่เพียงเป็นส่วนเท่า ๆ กัน    มาตรา 291 ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำ

บุริมสิทธิพิเศษ

2. บุริมสิทธิพิเศษ
                           (ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์                      
    มาตรา 259 ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งจะกล่าว
ต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ
    (1) เช่าอสังหาริมทรัพย์
    (2) พักอาศัยในโรงแรม
    (3) รับขนคนโดยสาร หรือของ
    (4) รักษาสังหาริมทรัพย์
    (5) ซื้อขายสังหาริมทรัพย์
    (6) ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย
    (7) ค่าแรงงานกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม    มาตรา 260 บุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์

บุริมสิทธิสามัญ

1.บุริมสิทธิสามัญ
    มาตรา 253   ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าว
ต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ คือ
    (1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
    (2) ค่าปลงศพ
    (3) ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่
          ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้าง 
    (4) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน    มาตรา 254 บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันนั้น   ใช้สำหรับเอาค่า

บุริมสิทธิ

                                           ส่วนที่ 6
                                           บุริมสิทธิ
    มาตรา 251 ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะ
ได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตน จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ โดยนัยดังบทบัญญัติ
ไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือบทกฎหมายอื่น    มาตรา 252 บทบัญญัติแห่งมาตรา 244 นั้น   ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงบุริมสิทธิด้วย

สิทธิยึดหน่วง

ส่วนที่ 5
                                         สิทธิยึดหน่วง
    มาตรา 241 ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตน
เกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะ
ได้ชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวมานี้ท่านมิให้ใช้บังคับ เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด
    อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าการที่เข้าครอบครองนั้นเริ่มมา
ตั้งแต่ทำการอันใดอันหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย    มาตรา 242 สิทธิยึดหน่วงอันใด ถ้าไม่สมกับลักษณะที่เจ้าหนี้รับภาระในมูลหนี้ก็ดี

เพิกถอนการฉ้อฉล

    ส่วนที่ 4
                                    เพิกถอนการฉ้อฉล
    มาตรา 237 เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้
ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ   แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ
ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึง
ข้อความจริง อันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดย
เสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
    บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมีให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุ
เป็นสิทธิในทรัพย์สิน    มาตรา 238 การเพิกถอนดังกล่าวมาในบทมาตราก่อนนั้น ไม่อาจกระทบกระทั่งถึง

การใช้สิทธิเรียกร้องลูกหนี้

ส่วนที่ 3
                           การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
    มาตรา 233 ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง หรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง
เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของ
ตนเอง แทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ เว้นแต่ในข้อที่เป็นการของ
ลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้    มาตรา 234   เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้มา

รับช่วงสิทธิ

 ส่วนที่ 2 รับช่วงสิทธิ
    มาตรา 226 บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้
มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง
    ช่วงทรัพย์ ได้แก่เอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่งในฐานะนิตินัย
อย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน    มาตรา 227 เมื่อเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเต็มตามราคาทรัพย์

การไม่ชำระหนี้

หมวด 2 ผลแห่งหนี้
                              ส่วนที่ 1 การไม่ชำระหนี้
    มาตรา 203 ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจาก
พฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และ
ฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
    ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้
จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้    มาตรา 204 ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้

กำหนดอายุความ

หมวด 2 กำหนดอายุความ
    มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้
โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี    มาตรา 193/31 สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความ

อายุความ

ลักษณะ 6 อายุความ
                            หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป  
    มาตรา 193/9 สิทธิเรียกร้องใด ๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ    มาตรา 193/10 สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้

ระยะเวลา

ลักษณะ 5 ระยะเวลา
    มาตรา 193/1 การนับระยะเวลาทั้งปวง   ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้
เว้นแต่จะมีกฎหมาย คำสั่งศาล ระเบียบข้อบังคับ หรือนิติกรรมกำหนดเป็นอย่างอื่น    มาตรา 193/2 การคำนวณระยะเวลา ให้คำนวณเป็นวัน แต่ถ้ากำหนดเป็นหน่วยเวลา

เงื่อนไขและเงื่อนเวลา

หมวด 4 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา
    มาตรา 182 ข้อความใดอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์
อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ข้อความนั้นเรียกว่าเงื่อนไข    มาตรา 183 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน นิติกรรมนั้นย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไข

โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม

หมวด 3 โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม 
    มาตรา 172   โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่ง
คนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
    ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้
แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ    มาตรา 173 ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะนิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ

การแสดงเจตนา

หมวด 2 การแสดงเจตนา
    มาตรา 154 การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพัน
ตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่
คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น    มาตรา 155    การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะ

นิติกรรม

ลักษณะ 4 นิติกรรม
                            หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
    มาตรา 149 นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและ
ด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง
โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ    มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้น

ทรัพย์

ลักษณะ 3 ทรัพย์
    มาตรา 137 ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง    มาตรา 138 ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคา

มูลนิธิ

ส่วนที่ 3 มูลนิธิ
   มาตรา 110 มูลนิธิได้แก่ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการ
กุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาหรือเพื่อสาธารณ-
ประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตาม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
    การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใดนอกจาก
เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง    มาตรา 111 มูลนิธิต้องมีข้อบังคับ และต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิประกอบด้วย

สมาคม

ส่วนที่ 2 สมาคม
    มาตรา 78 การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและ
มิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตาม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้    มาตรา 79 ข้อบังคับของสมาคมอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

นิติบุคคล

                                  หมวด 2 นิติบุคคล
                             ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
    มาตรา 65    นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือ
กฎหมายอื่น    มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิ และหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือ

ข้อความเบื้องต้น

                                 ข้อความเบื้องต้น

    มาตรา 1 กฎหมายนี้ให้เรียกว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์    มาตรา 2 ให้ใช้ประมวลกฎหมายนี้ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พระพุทธศักราช 2468

สาบสูญ

                                            ส่วนที่ 4 สาบสูญ
    มาตรา 48 ถ้าบุคคลใดไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยมิได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบ
อำนาจทั่วไปไว้ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือ
พนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็น
เพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้ไม่อยู่นั้นก็ได้
    เมื่อเวลาได้ล่วงเลยไปหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้ไม่อยู่นั้นไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่
และไม่มีผู้ใดได้รับข่าวเกี่ยวกับบุคคลนั้นประการใดเลยก็ดีหรือหนึ่งปีนับแต่วันมีผู้ได้
พบเห็น หรือได้ทราบข่าวมาเป็นครั้งหลังสุดก็ดีเมื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งร้องขอ ศาล
จะตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ขึ้นก็ได้    มาตรา 49 ในกรณีที่ผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และสัญญาตัวแทน

ภูมิลำเนา

                                       ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา  
    มาตรา 37 ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่ง
สำคัญ    มาตรา 38 ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมี

ความสามารถ

                        ส่วนที่ 2 ความสามารถ
    มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์

บุคคล

                                   ลักษณะ 2 บุคคล
                                 หมวด 1 บุคคลธรรมดา  
                                  ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล
    มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
    ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็น
ทารก    มาตรา 16 การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใด

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

    มาตรา 4 กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่ง
กฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ
     เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณี
แห่งท้องถิ่น
     ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียง
อย่างยิ่งและถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป       มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำ

หักกลบลบหนี้

ส่วนที่ 3 หักกลบลบหนี้
    มาตรา 341 ถ้าบุคคลสองคนต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็น
อย่างเดียวกัน และหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดจะชำระไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ย่อมจะหลุดพ้นจากหนี้ของตนด้วยหักกลบลบกันได้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้
ทั้งสองฝ่ายนั้น เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบกันได้
    บทบัญญัติดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ หากเป็นการขัดกับเจตนาอัน
คู่กรณีได้แสดงไว้ แต่เจตนาเช่นนี้ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำ
การโดยสุจริต

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปลดหนี้

    
                                    ส่วนที่ 2  ปลดหนี้
    มาตรา 340 ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอัน
ระงับสิ้นไป

คลังบทความของบล็อก