จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ขายทอดตลาด

ส่วนที่ 3
                                       ขายทอดตลาด
 
    มาตรา 509 การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์ เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วย
เคาะไม้ หรือด้วยกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด
ถ้ายังมิได้แสดงเช่นนั้นอยู่ตราบใดท่านว่าผู้สู้ราคาจะถอนคำสู้ราคาของตนเสียก็ยัง
ถอนได้      มาตรา 510 ผู้ซื้อในการขายทอดตลาดจะต้องทำตามคำโฆษณาบอกขายและตาม
ความข้ออื่น ๆ ซึ่งผู้ทอดตลาดได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเฉพาะรายไป
     มาตรา 511 ท่านห้ามมิให้ผู้ทอดตลาดเข้าสู้ราคา หรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคา ใน
การทอดตลาดซึ่งตนเป็นผู้อำนวยการเอง
     มาตรา 512 ท่านห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเองหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคา เว้นแต่
จะได้แถลงไว้โดยเฉพาะในคำโฆษณาบอกการทอดตลาดนั้นว่าผู้ขายถือสิทธิที่จะเข้าสู้
ราคาด้วย
     มาตรา 513    เมื่อใดผู้ทอดตลาดเห็นว่าราคาซึ่งมีผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ ผู้
ทอดตลาดอาจถอนทรัพย์สินจากการทอดตลาดได้
     มาตรา 514 ผู้สู้ราคาย่อมพ้นความผูกพันในราคาซึ่งตนสู้แต่ขณะเมื่อมีผู้อื่นสู้ราคาสูง
ขึ้นไป ไม่ว่าการที่ผู้อื่นสู้นั้นจะสมบูรณ์หรือมิสมบูรณ์ประการใด อีกประการหนึ่งเมื่อใด
ถอนทรัพย์สินรายนั้นจากการทอดตลาดผู้สู้ราคาก็พ้นความผูกพันแต่ขณะที่ถอนนั้นดุจกัน
     มาตรา 515 ผู้สู้ราคาสูงสุดต้องใช้ราคาเป็นเงินสด   เมื่อการซื้อขายบริบูรณ์ หรือตาม
เวลาที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาบอกขาย
     มาตรา 516 ถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาไซร้   ท่านให้ผู้ทอดตลาดเอา
ทรัพย์สินนั้นขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขาย
ทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด
     มาตรา 517 ถ้าเงินรายได้ในการทอดตลาดส่วนหนึ่งส่วนใดค้างชำระอยู่ เพราะเหตุ
ผู้ทอดตลาดละเลยไม่บังคับตามบทในมาตรา 515หรือมาตรา 516 ไซร้ ท่านว่าผู้ทอดตลาด
จะต้องรับผิด
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก