จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประนีประนอมยอมความ

ลักษณะ 17
                               ประนีประนอมยอมความ
    มาตรา 850 อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้
แก่กัน

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา

ลักษณะ 7
                      ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง                   
                                       หมวด 1
                            ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา
 
    มาตรา 240 ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์
ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตร
รัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอม
เงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่
สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
 

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นายหน้า

ลักษณะ 16
                                          นายหน้า
 
    มาตรา 845 บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่นายหน้า เพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำ
สัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทำสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จ
ก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น
ถ้าสัญญาที่ได้ทำกันไว้นั้นมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้อง
บำเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่ จนกว่าเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว
    นายหน้ามีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไป ก็ต่อเมื่อได้ตกลงกันไว้เช่นนั้น
ความข้อนี้ท่านให้ใช้บังคับแม้ถึงว่าสัญญาจะมิได้ทำกันสำเร็จ
 
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.lawyercluster.co.th/เกี่ยวกับทนาย/ภาพสำนักงาน.html

ตัวแทนค้าต่าง

หมวด 6
                                       ตัวแทนค้าต่าง
 
    มาตรา 833 อันว่าตัวแทนค้าต่าง คือบุคคลซึ่งในทางค้าขายของเขาย่อมทำการซื้อ
หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทำกิจการค้าขายอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ
 

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน

ลักษณะ 6
               ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
 
    มาตรา 217 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน
ถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
 

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก

หมวด 4
             ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก
 
    มาตรา 820 ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลาย อันตัวแทน
หรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน
 

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน

หมวด 3
                    หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน
 
    มาตรา 815 ถ้าตัวแทนมีประสงค์ไซร้ ตัวการต้องจ่ายเงินทดรองให้แก่ตัวแทนตาม
จำนวนที่จำเป็น เพื่อทำการอันมอบหมายแก่ตัวแทนนั้น
 

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ

หมวด 2
                   หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ 
 
    มาตรา 807 ตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายของตัวการ
เมื่อไม่มีคำสั่งเช่นนั้น ก็ต้องดำเนินตามทางที่เคยทำกันมาในกิจการค้าขายอันเขาให้ตน
ทำอยู่นั้น
    อนึ่ง บทบัญญัติมาตรา 659 ว่าด้วยการฝากทรัพย์นั้น ท่านให้นำมาใช้ด้วยโดยอนุโลม
ตามควร
 

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตัวแทน

ลักษณะ 15
                                          ตัวแทน
                                          หมวด 1
                                 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
 
    มาตรา 797 อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทน มี
อำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการและตกลงจะทำการดั่งนั้น
    อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัด หรือโดยปริยายก็ย่อมได้
 

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า

หมวด 2
                      ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
 
    มาตรา 775 ถ้าผู้ฝากต้องการไซร้ นายคลังสินค้าต้องส่งมอบเอกสารซึ่งเอาออกจาก
ทะเบียนมีต้นขั้วเฉพาะการ อันมีใบรับของคลังสินค้าฉบับหนึ่งและประทวนสินค้าฉบับ
หนึ่งให้แก่ผู้ฝาก
 

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน

ลักษณะ 5
                      ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
 
    มาตรา 209 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมาย
เพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
    ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า   ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลนั้น
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
 

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

ลักษณะ 4
                               ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
 
    มาตรา 206 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทาง
ศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
   

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ

หมวด 4
                          ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ
 
    มาตรา 769 อันจำนำย่อมระงับสิ้นไป
    (1) เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการอื่นมิใช่เพราะ
อายุความ หรือ
    (2) เมื่อผู้รับจำนำ ยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จำนำ
 

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

หมวด 2
                      ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
    มาตรา 200   ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการผู้ว่าคดี พนักงาน
สอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมาย
อาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันการมิชอบ   เพื่อจะ
ช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลงต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
    ถ้าการกระทำหรือไม่กระทำนั้นเป็นการเพื่อ จะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้อง
รับโทษ รับโทษหนักขึ้น หรือต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัยผู้กระทำ
ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่
สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ

หมวด 2
                     สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ
 
    มาตรา 758 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และ
ค่าอุปกรณ์ครบถ้วน
 

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จำนำ

ลักษณะ 13
                                             จำนำ
                                         หมวด 1
                                  บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
 
    มาตรา 747 อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำส่งมอบ
สังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการ
ชำระหนี้
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.lawyercluster.co.th/tag/จำนำ.html

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ค้ำประกัน

ลักษณะ 11
                                         ค้ำประกัน
                                          หมวด 1
                                 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
    มาตรา 680 อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน
ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
    อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ
ผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม

หมวด 3
                      วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม 
 
    มาตรา 674 เจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น จะต้องรับ
ผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขก
อาศัย หากได้พามา

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฝากทรัพย์

ลักษณะ 10
                                          ฝากทรัพย์
                                          หมวด 1 
                                    บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
 
    มาตรา 657 อันว่าฝากทรัพย์นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ฝากส่งมอบ
ทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับฝากและผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษา
ทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ยืมใช้สิ้นเปลือง

หมวด 2
                                       ยืมใช้สิ้นเปลือง
 
    มาตรา 650 อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สิน
เป็นประเภท ชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น
    สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ยืมใช้คงรูป

ลักษณะ 9
                                               ยืม
                                          หมวด 1
                                        ยืมใช้คงรูป  
 
    มาตรา 640 อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคล
อีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืน
ทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รับขนคนโดยสาร

หมวด 2
                                      รับขนคนโดยสาร
 
    มาตรา 634 ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดต่อคนโดยสารในความเสียหายอันเกิดแก่ตัวเขา หรือ
ในความเสื่อมเสียอย่างใด ๆ อันเป็นผลโดยตรงแต่การที่ต้องชักช้าในการขนส่ง เว้นแต่
การเสียหายหรือชักช้านั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่ความผิดของคนโดยสารนั้นเอง

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รับขนของ

                                             หมวด 1 
                                           รับขนของ
 
    มาตรา 610 อันบุคคลผู้ทำความตกลงกับผู้ขนส่งเพื่อให้ขนของส่งไปนั้นเรียกว่าผู้ส่ง
หรือผู้ตราส่ง
    บุคคลผู้ซึ่งเขาส่งของไปถึงนั้น เรียกว่าผู้รับตราส่ง
    บำเหน็จอันจะต้องจ่ายให้เพื่อการขนส่งของนั้น เรียกว่าค่าระวางพาหนะ

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รับขน

ลักษณะ 8
                                            รับขน 
    มาตรา 608 อันว่าผู้ขนส่งภายในความหมายแห่งกฎหมายลักษณะนี้ คือบุคคลผู้รับ
ขนส่งของหรือคนโดยสาร เพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตน

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จ้างทำของ

ลักษณะ 7
                                          จ้างทำของ
    มาตรา 587   อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลง
จะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้าง
ตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น

จ้างแรงงาน

ลักษณะ 6
                                       จ้างแรงงาน
    มาตรา 575 อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลง
จะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้าง
ตลอดเวลาที่ทำงานให้     มาตรา 576   ถ้าตามพฤติการณ์ไม่อาจจะคาดหมายได้ว่างานนั้นจะพึงทำให้เปล่าไซร้
ท่านย่อมถือเอาโดยปริยายมีคำมั่นจะให้สินจ้าง

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เช่าซื้อ

ลักษณะ 5 
                                           เช่าซื้อ
    มาตรา 572 อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้
คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไข
ที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว
    สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

หมวด 2
                            ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
 
    มาตรา 147 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด
เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่น
เอาทรัพย์สินนั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือจำคุกตลอดชีวิต และ
ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความระงับแห่งสัญญาเช่า

หมวด 4
                               ความระงับแห่งสัญญาเช่า
 
    มาตรา 564 อันสัญญาเช่านั้น ท่านว่าย่อมระงับไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้
มิพักต้องบอกกล่าวก่อน

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หน้าที่ความรับผิดของผู้เช่า

หมวด 3
                              หน้าที่ความรับผิดของผู้เช่า
    มาตรา 552 อันผู้เช่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่ใช้กันตาม
ประเพณีนิยมปกติ หรือการดั่งกำหนดไว้ในสัญญานั้น ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า

หมวด 2
                          หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า
 
    มาตรา 546 ผู้ให้เช่าจำต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

ลักษณะ 2
                              ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง 
                                          หมวด 1
                               ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
 
    มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการ
ตามหน้าที่   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เช่าทรัพย์

ลักษณะ 4  
                                           เช่าทรัพย์
                                            หมวด 1 
                                     บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
 
    มาตรา 537 อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลง
ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง
ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น

ให้

ลักษณะ 3
                                               ให้
 
    มาตรา 521 อันว่าให้นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตน
ให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แลกเปลี่ยน

ลักษณะ 2
                                       แลกเปลี่ยน
 
    มาตรา 518 อันว่าแลกเปลี่ยนนั้น คือสัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน
ให้กันและกัน
     มาตรา 519 บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายนั้น ท่านให้ใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วย
โดยให้ถือว่าผู้เป็นคู่สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นผู้ขายในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้ส่งมอบ และเป็น
ผู้ซื้อในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้รับในการแลกเปลี่ยนนั้น
     มาตรา 520 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในสัญญาแลกเปลี่ยนตกลงจะโอนเงินเพิ่มเข้ากับ
ทรัพย์สินสิ่งอื่นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งไซร้ บททั้งหลายอันว่าด้วยราคาในลักษณะซื้อขายนั้น
ให้ใช้ถึงเงินเช่นว่านั้นด้วย
 

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ขายทอดตลาด

ส่วนที่ 3
                                       ขายทอดตลาด
 
    มาตรา 509 การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์ เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วย
เคาะไม้ หรือด้วยกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด
ถ้ายังมิได้แสดงเช่นนั้นอยู่ตราบใดท่านว่าผู้สู้ราคาจะถอนคำสู้ราคาของตนเสียก็ยัง
ถอนได้

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ

 ส่วนที่ 2
            ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ
 
    มาตรา 503 ในการขายตามตัวอย่างนั้น ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามตัวอย่าง
    ในการขายตามคำพรรณนา ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนา

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ขายฝาก

หมวด 4
                             การซื้อขายเฉพาะบางอย่าง
                                           ส่วนที่ 1
                                          ขายฝาก
    มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ
โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หน้าที่ของผู้ซื้อ

หมวด 3
                                       หน้าที่ของผู้ซื้อ
 
    มาตรา 486 ผู้ซื้อจำต้องรับมอบทรัพย์สินที่ตนได้รับซื้อและใช้ราคาตามข้อสัญญา
ซื้อขาย

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อสัญญาไม่ต้องรับผิด

ส่วนที่ 4
                                 ข้อสัญญาไม่ต้องรับผิด
 
    มาตรา 483   คู่สัญญาซื้อขายจะตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุด
บกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิก็ได้
    มาตรา 484 ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ย่อมไม่คุ้มผู้ขายให้พ้นจากการต้องส่ง
เงินคืนตามราคา เว้นแต่จะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
    มาตรา 485 ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของ
การอันผู้ขายได้กระทำไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่และปกปิดเสีย
 

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความรับผิดในการรอนสิทธิ

ส่วนที่ 3
                                ความรับผิดในการรอนสิทธิ
 
    มาตรา 475 หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครอง
ทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ใน
เวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น

ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง

ส่วนที่ 2
                             ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง
 
    มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็น
เหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์
ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด
    ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้   ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุด
บกพร่องมีอยู่

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การส่งมอบ

หมวด 2
                           หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย
                                            ส่วนที่ 1
                                          การส่งมอบ
 
    มาตรา 461 ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งขายนั้นให้แก่ผู้ซื้อ

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย

ลักษณะ 1/1
                               ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
     มาตรา 135/1 ผู้ใดกระทำการอันเป็นความผิดอาญาดังต่อไปนี้
     (1) ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตราย
อย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ
     (2) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ
ระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
     (3) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของ
บุคคลใดหรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ
อย่างสำคัญ
     ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาล
ต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิด
ความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่
ประชาชน ผู้นั้นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอด
ชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท
     การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐ
ช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการ
กระทำความผิดฐานก่อการร้าย      มาตรา 135/2 ผู้ใด

การโอนกรรมสิทธิ์

ส่วนที่ 2
                                   การโอนกรรมสิทธิ์
    มาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำ
สัญญาซื้อขายกัน    มาตรา 459 ถ้าสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์ใน

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ซื้อขาย

บรรพ 3
                                      เอกเทศสัญญา
                                          ลักษณะ 1 
                                           ซื้อขาย
                                         หมวด 1 
                    สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย                 
                                        ส่วนที่ 1 
                                 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป                            
    มาตรา 453 อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์
แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สิน
นั้นให้แก่ผู้ขาย
    

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นิรโทษกรรม

หมวด 3
                                         นิรโทษกรรม
 
    มาตรา 449   บุคคลใดเมื่อกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายก็ดีกระทำตาม
คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี   หากก่อให้เกิดเสียหายแก่ผู้อื่นไซร้ท่านว่าบุคคลนั้น
หาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
    ผู้ต้องเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบ
ด้วยกฎหมาย หรือจากบุคคลผู้ให้คำสั่งโดยละเมิดนั้นก็ได้

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

หมวด 2
                              ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
 
    มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตาม
ควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
    อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด
หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่าง
ใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย     

ความรับผิดเพื่อละเมิด

ลักษณะ 5
                                             ละเมิด
                                           หมวด 1
                               ความรับผิดเพื่อละเมิด
 
    มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ   ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขา
เสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิ
อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ลาภมิควรได้

ลักษณะ 4
                                         ลาภมิควรได้
 
    มาตรา 406 บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อ
ชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และ
เป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่
เขา   อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อ
ชำระหนี้ด้วย
    บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มา เพราะเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จัดการงานนอกสั่ง

ลักษณะ 3
                                   จัดการงานนอกสั่ง
    มาตรา 395 บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือ
โดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้อง
จัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของ
ตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ      มาตรา 396 ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้น เป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของ

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เลิกสัญญา

  หมวด 4
                                         เลิกสัญญา
 
    มาตรา 386 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติ
แห่งกฎหมาย   การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
    แสดงเจตนาดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่

ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ

หมวด 4
                         ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ
    มาตรา 130 ผู้ใดทำร้ายร่างกายหรือประทุษร้ายต่อเสรีภาพของราชาธิบดี ราชินี
ราชสามี รัชทายาทหรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ซึ่งมีสัมพันธไมตรี ต้องระวางโทษ
จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี
    ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มัดจำและเบี้ยปรับ

  หมวด 3
                                    มัดจำและเบี้ยปรับ
    มาตรา 377 เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำ
นั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นประกัน
การที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย    มาตรา 378 มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นท่านให้เป็นไปดั่งจะกล่าวต่อไปนี้

ผลแห่งสัญญา

หมวด 2
                                     ผลแห่งสัญญา
    มาตรา 369 ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่า
อีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ
ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด    มาตรา 370   ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอน

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หนี้เกลื่อนกลืนกัน

ส่วนที่ 5
                                   หนี้เกลื่อนกลืนกัน
 
    มาตรา 353 ถ้าสิทธิและความรับผิดในหนี้รายใดตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน ท่านว่า
หนี้รายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เว้นแต่เมื่อหนี้นั้นตกไปอยู่ในบังคับแห่งสิทธิของบุคคล
ภายนอก หรือเมื่อสลักหลังตั๋วเงินกลับคืนตามความในมาตรา 917 วรรค 3
 

ก่อให้เกิดสัญญา

                                           ลักษณะ 2
                                              สัญญา
                                              หมวด 1
                                       ก่อให้เกิดสัญญา
 
    มาตรา 354 คำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้นท่านว่าไม่อาจจะ
ถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แปลงหนี้ใหม่

                                            ส่วนที่ 4
                                        แปลงหนี้ใหม่

        มาตรา 349 เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ไซร้
ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่
ถ้าทำหนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อัน
ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เปลี่ยนเงื่อนไขก็ดี ท่านถือว่าเป็นอันเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ
แห่งหนี้นั้น
        ถ้าแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่ง
ประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้อง

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร

                                         หมวด 3
              ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร
 
     มาตรา 119 ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใด
ของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราช
ของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต 

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โอนสิทธิเรียกร้อง

หมวด 4 โอนสิทธิเรียกร้อง
    มาตรา 303 สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าจะพึงโอนกันได้ เว้นไว้แต่สภาพแห่งสิทธินั้นเอง
จะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้
    ความที่กล่าวมานี้ย่อมไม่ใช้บังคับ หากคู่กรณีได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นการแสดง
เจตนาเช่นว่านี้ ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต 

ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน

  หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน
    มาตรา 290 ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระได้ และมีบุคคลหลายคน
เป็นลูกหนี้ก็ดี มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าลูกหนี้
แต่ละคนจะต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนเท่าๆกัน และเจ้าหนี้แต่ละคนก็ชอบที่จะได้รับ
แต่เพียงเป็นส่วนเท่า ๆ กัน    มาตรา 291 ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำ

บุริมสิทธิพิเศษ

2. บุริมสิทธิพิเศษ
                           (ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์                      
    มาตรา 259 ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งจะกล่าว
ต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ
    (1) เช่าอสังหาริมทรัพย์
    (2) พักอาศัยในโรงแรม
    (3) รับขนคนโดยสาร หรือของ
    (4) รักษาสังหาริมทรัพย์
    (5) ซื้อขายสังหาริมทรัพย์
    (6) ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย
    (7) ค่าแรงงานกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม    มาตรา 260 บุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์

บุริมสิทธิสามัญ

1.บุริมสิทธิสามัญ
    มาตรา 253   ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าว
ต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ คือ
    (1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
    (2) ค่าปลงศพ
    (3) ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่
          ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้าง 
    (4) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน    มาตรา 254 บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันนั้น   ใช้สำหรับเอาค่า

บุริมสิทธิ

                                           ส่วนที่ 6
                                           บุริมสิทธิ
    มาตรา 251 ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะ
ได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตน จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ โดยนัยดังบทบัญญัติ
ไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือบทกฎหมายอื่น    มาตรา 252 บทบัญญัติแห่งมาตรา 244 นั้น   ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงบุริมสิทธิด้วย

สิทธิยึดหน่วง

ส่วนที่ 5
                                         สิทธิยึดหน่วง
    มาตรา 241 ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตน
เกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะ
ได้ชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวมานี้ท่านมิให้ใช้บังคับ เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด
    อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าการที่เข้าครอบครองนั้นเริ่มมา
ตั้งแต่ทำการอันใดอันหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย    มาตรา 242 สิทธิยึดหน่วงอันใด ถ้าไม่สมกับลักษณะที่เจ้าหนี้รับภาระในมูลหนี้ก็ดี

เพิกถอนการฉ้อฉล

    ส่วนที่ 4
                                    เพิกถอนการฉ้อฉล
    มาตรา 237 เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้
ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ   แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ
ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึง
ข้อความจริง อันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดย
เสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
    บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมีให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุ
เป็นสิทธิในทรัพย์สิน    มาตรา 238 การเพิกถอนดังกล่าวมาในบทมาตราก่อนนั้น ไม่อาจกระทบกระทั่งถึง

การใช้สิทธิเรียกร้องลูกหนี้

ส่วนที่ 3
                           การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
    มาตรา 233 ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง หรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง
เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของ
ตนเอง แทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ เว้นแต่ในข้อที่เป็นการของ
ลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้    มาตรา 234   เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้มา

รับช่วงสิทธิ

 ส่วนที่ 2 รับช่วงสิทธิ
    มาตรา 226 บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้
มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง
    ช่วงทรัพย์ ได้แก่เอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่งในฐานะนิตินัย
อย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน    มาตรา 227 เมื่อเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเต็มตามราคาทรัพย์

การไม่ชำระหนี้

หมวด 2 ผลแห่งหนี้
                              ส่วนที่ 1 การไม่ชำระหนี้
    มาตรา 203 ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจาก
พฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และ
ฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
    ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้
จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้    มาตรา 204 ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้

กำหนดอายุความ

หมวด 2 กำหนดอายุความ
    มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้
โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี    มาตรา 193/31 สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความ

อายุความ

ลักษณะ 6 อายุความ
                            หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป  
    มาตรา 193/9 สิทธิเรียกร้องใด ๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ    มาตรา 193/10 สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้

ระยะเวลา

ลักษณะ 5 ระยะเวลา
    มาตรา 193/1 การนับระยะเวลาทั้งปวง   ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้
เว้นแต่จะมีกฎหมาย คำสั่งศาล ระเบียบข้อบังคับ หรือนิติกรรมกำหนดเป็นอย่างอื่น    มาตรา 193/2 การคำนวณระยะเวลา ให้คำนวณเป็นวัน แต่ถ้ากำหนดเป็นหน่วยเวลา

เงื่อนไขและเงื่อนเวลา

หมวด 4 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา
    มาตรา 182 ข้อความใดอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์
อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ข้อความนั้นเรียกว่าเงื่อนไข    มาตรา 183 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน นิติกรรมนั้นย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไข

โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม

หมวด 3 โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม 
    มาตรา 172   โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่ง
คนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
    ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้
แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ    มาตรา 173 ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะนิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ

การแสดงเจตนา

หมวด 2 การแสดงเจตนา
    มาตรา 154 การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพัน
ตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่
คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น    มาตรา 155    การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะ

นิติกรรม

ลักษณะ 4 นิติกรรม
                            หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
    มาตรา 149 นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและ
ด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง
โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ    มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้น

ทรัพย์

ลักษณะ 3 ทรัพย์
    มาตรา 137 ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง    มาตรา 138 ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคา

มูลนิธิ

ส่วนที่ 3 มูลนิธิ
   มาตรา 110 มูลนิธิได้แก่ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการ
กุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาหรือเพื่อสาธารณ-
ประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตาม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
    การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใดนอกจาก
เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง    มาตรา 111 มูลนิธิต้องมีข้อบังคับ และต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิประกอบด้วย

สมาคม

ส่วนที่ 2 สมาคม
    มาตรา 78 การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและ
มิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตาม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้    มาตรา 79 ข้อบังคับของสมาคมอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

นิติบุคคล

                                  หมวด 2 นิติบุคคล
                             ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
    มาตรา 65    นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือ
กฎหมายอื่น    มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิ และหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือ

ข้อความเบื้องต้น

                                 ข้อความเบื้องต้น

    มาตรา 1 กฎหมายนี้ให้เรียกว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์    มาตรา 2 ให้ใช้ประมวลกฎหมายนี้ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พระพุทธศักราช 2468

สาบสูญ

                                            ส่วนที่ 4 สาบสูญ
    มาตรา 48 ถ้าบุคคลใดไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยมิได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบ
อำนาจทั่วไปไว้ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือ
พนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็น
เพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้ไม่อยู่นั้นก็ได้
    เมื่อเวลาได้ล่วงเลยไปหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้ไม่อยู่นั้นไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่
และไม่มีผู้ใดได้รับข่าวเกี่ยวกับบุคคลนั้นประการใดเลยก็ดีหรือหนึ่งปีนับแต่วันมีผู้ได้
พบเห็น หรือได้ทราบข่าวมาเป็นครั้งหลังสุดก็ดีเมื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งร้องขอ ศาล
จะตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ขึ้นก็ได้    มาตรา 49 ในกรณีที่ผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และสัญญาตัวแทน

ภูมิลำเนา

                                       ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา  
    มาตรา 37 ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่ง
สำคัญ    มาตรา 38 ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมี

ความสามารถ

                        ส่วนที่ 2 ความสามารถ
    มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์

บุคคล

                                   ลักษณะ 2 บุคคล
                                 หมวด 1 บุคคลธรรมดา  
                                  ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล
    มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
    ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็น
ทารก    มาตรา 16 การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใด

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

    มาตรา 4 กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่ง
กฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ
     เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณี
แห่งท้องถิ่น
     ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียง
อย่างยิ่งและถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป       มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำ

หักกลบลบหนี้

ส่วนที่ 3 หักกลบลบหนี้
    มาตรา 341 ถ้าบุคคลสองคนต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็น
อย่างเดียวกัน และหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดจะชำระไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ย่อมจะหลุดพ้นจากหนี้ของตนด้วยหักกลบลบกันได้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้
ทั้งสองฝ่ายนั้น เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบกันได้
    บทบัญญัติดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ หากเป็นการขัดกับเจตนาอัน
คู่กรณีได้แสดงไว้ แต่เจตนาเช่นนี้ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำ
การโดยสุจริต

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปลดหนี้

    
                                    ส่วนที่ 2  ปลดหนี้
    มาตรา 340 ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอัน
ระงับสิ้นไป

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

บิดาจะต้องไปขอให้ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนรับรองบุตรเพราะเด็กไม่สามารถให้ความยินยอมได้

ตามหลักบิดาจะไปจดทะเบียนรับรองบุตรนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาเด็กด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน”

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

ลูกจ้างถูกไล่ออกจะเรียกเงินทดแทนกรณีว่างงานได้หรือไม่

ตามหลักแล้วลูกจ้างได้จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้าง หรือนายจ้างไล่ออก (แล้วแต่กรณี) ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ดังต่อไปนี้ 1.กรณีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง  

ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีที่ลูกจ้างตายหรือสูญหาย

ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 20 บัญญัติว่า "เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือสูญหายให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง         (1) บิดามารดา 

นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างกระทำความผิด

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 ได้กำหนดกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่กระทำความผิด ดังนี้

บริษัทจำกัดจดทะเบียนตั้งขึ้นใหม่มีหน้าที่อะไร


เมื่อ บริษัทจำกัดได้จดทะเบียนขึ้นมาใหม่แล้ว มีหน้าที่ตามกฎหมายพอสรุปโดยสังเขป ดังนี้
          1.ต้องจัดทำงบการเงินอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกรอบ 12 เดือน โดยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงิน ภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี พร้อมทั้งนำงบการเงินยื่นต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงาน
พัฒนาธุรกิจการค้าแล้วแต่กรณี ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่อนุมัติงบการเงิน ทั้งนี้ แม้ว่าบริษัทจะยังไม่ได้ประกอบกิจการหรือหยุดกิจการชั่วคราวก็ตามจะต้องนำส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยอย่างไร

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ได้กำหนดเรื่องการจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดร้ายแรงหรือต้องพ้นจากการงานเนื่องจากเหตุจำเป็นของนายจ้าง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเป็นเงินจำนวนหนึ่งตามระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานกับนายจ้าง เพื่อให้เป็นค่าเลี้ยงชีพของลูกจ้าง โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้

การทำแท้งที่ไม่ผิดกฎหมาย

  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305  บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และ 302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ และ

ความผิดฐานทำให้แท้งลูก

การทำแท้ง คือ

        การทำให้เด็กในครรภ์ของหญิงเสียชีวิตก่อนที่จะคลอดหรือคลอดออกมาแล้วเสียชีวิตทันที (เสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์หญิงแล้ว)ดังนั้น การทำแท้งนั้นไม่ว่าจะแท้งตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์หญิงหรือเด็กคลอดออกมาแล้วตายทันที ก็ถือว่าเป็นการทำแท้งตามความหมายนี้ข้อสังเกต

ผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า เจ้าของห้องเช่าล็อคกุญแจได้หรือไม่

ผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า เจ้าของห้องเช่าล็อคกุญแจได้หรือไม่
         เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยในสังคมปัจจุบันนี้ ที่เจ้าของบ้านเช่าหรือห้องเช่าคิดว่าตนเองเป็นเจ้าของแล้วมีสิทธิที่จะทำอะไรก็ได้โดยไม่รู้ถึงข้อกฎหมายโดยเฉพาะในเรื่องผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า แล้วผู้ให้เช่าไปใส่กุญแจล็อคห้องเช่าไว้ ทำให้ผู้เช่าไม่สามารถเข้าไปในห้องเช่าหรือขนของออกจากห้องเช่าได้กรณีนี้ผู้ให้เช่าจะมีความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา โดยพิจารณาดังนี้ 1.กรณีคดีแพ่ง (ละเมิด)

ใบรับเงินใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องคดีได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1272/2501
โจทก์ นาวาอากาศโทแวว จันทรศร
จำเลย นางสงวนทรัพย์ เลอศิลป์
ผู้ร้องสอด นายนิพนธ์ เลอศิลป์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224, 653, 1482
          โจทก์ฟ้องว่า เมื่อ 15 พ.ค. 2499 จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไป 20,000 บาท สัญญาว่าจะให้ดอกเบี้ยชั่งละ 1 บาท ต่อเดือน ตามหนังสือกู้ที่จำเลยเขียนให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จึงฟ้องบังคับ          จำเลยให้การว่าไม่เคยกู้เงินโจทก์

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

การจดทะเบียนรับรองบุตร

หลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนรับรองบุตร
         ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 บัญญัติว่า "บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็กในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็กถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็กให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน        ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล

การจะฟ้องหย่าจะต้องมีเหตุหย่าตามกฎหมาย

เหตุฟ้องหย่า
       การที่สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะฟ้องหย่ากันนั้น จะต้องอาศัยเหตุหย่าอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 กำหนดไว้ ดังนี้

เกี่ยวกับบจก.สำนักกฎหมายลอว์เยอร์ คลัสเตอร์

บริษัท  สำนักกฎหมายลอว์เยอร์  คลัสเตอร์  จำกัด จดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย ณกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรุงเทพมหานคร  เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ 0105551011819 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 131 ซอยเลียบคลองสอง 28 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510โทรศัพท์ : 0-2183-0166โทรสาร : 0-2183-0166อีเมลล์ : khomson@lawyercluster.co.th อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน เว็บไซค์ : www.lawyercluster.co.th

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

ให้บริการเกี่ยวกับการขออนุญาตแทนคนต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทย

บริษัทคิดอัตราค่าบริการ ดังนี้
(1.) ค่าบริการในการขอ/ต่อใบอนุญาตทำงาน 1 ปี (work permit)  คิดค่าบริการ จำนวน 15,000 บาท

รับจดทะเบียนนิติบุคคล


ค่าดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคล
1.ค่าจดทะเบียนบริษัทจำกัด
    - ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท ค่าดำเนินการ จำนวน 12,000 บาท(รวมค่าธรรมเนียมแล้ว)

รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

บริษัทคิดอัตราค่าบริการ ดังนี้
1.ค่าบริการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
     - ค่าจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ขั้นต่ำ 10,000 บาท
     - ค่าตรวจเครื่องหมายการค้า จำนวน 4,000 บาท

รับตรวจร่างนิติกรรมและสัญญาทุกประเภท

นิติกรรมสัญญา ดังต่อไปนี้
 *สัญญาซื้อขาย
 *สัญญาแลกเปลี่ยน
 *สัญญาให้
 *สัญญาเช่าทรัพย์
 *สัญญาเช่าซื้อ
 *สัญญาจ้างแรงงาน
 *สัญญาจ้างทำของ
 *สัญญารับขน
 *สัญญายืม
 *สัญญาฝากทรัพย์
 *สัญญาค้ำประกัน
 *สัญญาจำนอง
 *สัญญาจำนำ
 *สัญญาเก็บของในคลังสินค้า
 *สัญญาตัวแทน
 *สัญญานายหน้า
 *สัญญาประนีประนอมยอมความ
 *สัญญาตั๋วเงิน
 *สัญญาหุ้นส่วนบริษัท เป็นต้น

รับว่าความคดีแพ่งและคดีอาญา

1.รับเป็นทนายว่าความในการร้องขอต่อศาลในคดีแพ่งและอาญา ดังนี้    
 -ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก , ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก
 -ร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดิน 
 -ร้องขอทำนิติกรรมขายที่ดินแทนผู้เยาว์
 -ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
 -ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
 -ร้องขอให้ศาลพิพากษาให้เด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายที่เคยเป็นสามี
 -ร้องขอตั้งผู้ปกครอง
 -ร้องขัดทรัพย์,กันส่วน,เฉลี่ยหนี้
 -ร้องขอชำระหนี้จำนอง
 -ร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด
 -ร้องขอคืนของกลางในคดีอาญา เป็นต้น

รับเป็นที่ปรึกษากฎหมายรายปี

อัตราค่าบริการสำหรับลูกค้าที่ปรึกษากฎหมายรายปี
     1.)มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกรายปี (12 เดือน)
     2.)ค่าสมัครสมาชิกรายปีๆ 60,000บาท (หกหมื่นบาท)โดยท่านต้องชำระเมื่อสมัครสมาชิกครั้งเดียว (หากท่านยกเลิกสัญญาก่อนที่จะครบกำหนดเวลาตามข้อ 1.บริษัทฯ จะไม่คืนเงินค่าสมัครสมาชิกให้ท่าน)

รับเป็นที่ปรึกษากฎหมายทั่วไป


รับเป็นทนายความที่ปรึกษาประจำบริษัท,ห้างร้าน และส่วนบุคคลทั่วไป
1.ค่าบริการเป็นที่ปรึกษากฎหมาย (แบบรายชั่วโมง)
       1.1)หากท่านประสงค์จะปรึกษากฎหมายกับทนายความที่สำนักงาน ท่านต้องชำระค่าปรึกษา ชั่วโมงละ 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน) (โดยนัดวันและเวลากับทนายความล่วงหน้า) ในเวลาทำการ ตั้งแต่วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 09.00 น.ถึง 18.00 น. นอกเวลาทำการดังกล่าวคิดค่า ปรึกษาเพิ่มอีกชั่วโมงละ 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)

รับสืบทรัพย์บังคับคดี

ค่ารับงานในกรณีสืบทรัพย์บังคับคดี
         บริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าดำเนินการสืบทรัพย์บังคับคดี โดยคิดค่ารับงานเรื่องละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) โดยไม่จำกัดทุนทรัพย์
เงื่อนไขการดำเนินงาน
          1.)บริษัทฯ จะเรียกเก็บค่ารับงานก่อนเริ่มทำงาน 
          2.)ก่อนเริ่มงานทางบริษัทฯ จะทำหนังสือสัญญารับจ้างสืบทรัพย์บังคับคดีให้ท่าน 
          3.)ให้ท่านหรือผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องทำการมอบอำนาจให้ทางบริษัทฯ ดำเนินการติดตามสืบทรัพย์บังคับคดีกับลูกหนี้ของท่านโดยการทำเป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมาย 
          4.)หากทางบริษัทฯ ดำเนินการให้ลูกหนี้ท่านชำระหนี้ให้แก่ท่านหรือมีการยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดแล้ว หรือไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ เมื่อท่านได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือตัวแทนลูกหนี้แล้ว บริษัทฯ คิดค่าจ้างจากท่านอีก 20 % ของยอดเงินที่ท่านได้รับ (คิดตามเกณฑ์เงินสดรับในแต่ละครั้ง) 
          5.)ไม่มีระยะเวลาในการดำเนินงาน บริษัทฯ จะเป็นผู้ดูแลตั้งแต่การสืบทรัพย์ บังคับคดี ตั้งเรื่องยึดหรืออายัด ขับไล่ นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตลอดจนดูแลการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่ท่าน 
          6.)บริษัทฯ ไม่รับประกันผลงาน หากท่านยังไม่ได้รับเงินจากลูกหนี้ บริษัทฯ จะไม่คืนเงินค่ารับงานให้ท่าน เพราะถือว่าเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นแล้ว  
          7.)ในการทำงานแต่ละครั้ง บริษัทฯ จะมีการรายงานความคืบหน้าให้ท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษร  
          8.)ในกรณีมีการดำเนินการแต่ละครั้ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ท่านต้องชำระค่าเดินทางครั้งละ 2,000 บาท (สองพันบาท)  
         ในต่างจังหวัด ท่านต้องชำระค่าเดินทาง ตามอัตราดังต่อไปนี้ 
         ระยะทาง ไม่เกิน         300 กม.                คิดค่าเดินทาง       = 3,500 บาท 
         ระยะทาง         300 – 500 กม.                คิดค่าเดินทาง       = 4,500 บาท 
         ระยะทาง         500 กม. ขึ้นไป                 คิดค่าเดินทาง       = 6,500 บาท 
หมายเหตุ ค่าเดินทางดังกล่าวไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าที่พัก,ค่าตั๋วรถเดินทาง,ค่าน้ำมันรถยนต์,ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ทางราชการ หรือเอกชนออกให้ (ตามใบเสร็จรับเงิน)
ติดต่อสอบถามได้ที่ http://www.lawyercluster.co.th/

รับติดตามเร่งรัดหนี้สิน

หากท่านมีปัญหาเหล่านี้
         -ลูกหนี้กู้เงินจากท่าน พอถึงกำหนดไม่คืน (แบบว่าไม่มีไม่หนีไม่จ่าย หรือหนีไปเลย)
         -ลูกค้าซื้อสินค้าจากท่านแล้วไม่จ่ายเงินค่าสินค้าให้ท่านตามเวลาที่กำหนด หรือท่านซื้อสินค้าจากลูกค้าแล้วเขาไม่ยอมส่งสินค้าให้ท่านตามเวลาที่กำหนด
         -ลูกค้าจ้างให้ท่านทำงาน เช่น จ้างเขียนแบบ,จ้างสร้างบ้าน,จ้างทำของอื่นๆ แต่พอท่านทำงานเสร็จเขาไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้ท่าน
         -ท่านได้วางเงินจองหรือมัดจำ บ้าน,คอนโด ฯลฯ พอถึงกำหนดโครงการหรือเจ้าของไม่ยอมโอนให้ท่าน หรือผิดสัญญาไม่ยอมคืนเงินให้แก่ท่าน
         -ลูกหนี้ของท่านได้สั่งจ่ายเช็คให้ท่าน พอถึงกำหนดเช็คเด้ง ท่านทวงถามแล้วก็ยังไม่จ่าย
         -นายจ้างเลิกจ้างท่าน แต่ไม่ยอมจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ท่านตามกฎหมายแรงงาน
         -ลูกจ้างของท่านยักยอกเงิน,ฉ้อโกง,ลักทรัพย์ ฯลฯ หรือทำละเมิดต่อท่าน แล้วหนีติดตามทรัพย์สินคืนไม่ได้
         -สำหรับเจ้าของโครงการนิติบุคคล (บ้านเดี่ยว,คอนโด,ทาวน์เฮ้านส์ ฯลฯ) หากลูกบ้านของท่านไม่ชำระค่าส่วนกลาง ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ ท่านทวงเท่าไรก็ไม่จ่าย
         -ลูกค้าจ้างให้ท่านโฆษณาสินค้า,บริการ (ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยุ,โทรศัพท์,สื่อสิ่งพิมพ์,อินเตอร์เน็ต หรืออื่นๆ)แต่พอถึงกำหนดจ่ายค่าโฆษณาแล้วเขา ไม่ยอมจ่ายเงินให้ท่าน
         -เมื่อท่านร่วมลงทุนกับหุ้นส่วน พอธุรกิจมีกำไรหุ้นส่วนกลับไม่ยอมแบ่งกำไรให้ท่าน หรือปิดกิจการหนี
         -ลูกหนี้ของท่านทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ท่าน หรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลว่าจะชำระหนี้ให้ท่าน หรือท่านได้ฟ้องลูกหนี้ของท่านต่อศาล และศาลมีคำพิพากษาแล้ว ลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระเงินให้ท่าน
         -กรณีท่านเป็นนายหน้าขายทรัพย์สินให้เจ้าของทรัพย์ พอขายได้เจ้าของทรัพย์กลับไม่จ่ายเงินค่านายหน้าให้แก่ท่าน
         -ท่านเช่าบ้าน,คอนโด,โกดัง หรือสถานที่อื่นๆ ในขณะเช่าได้วางเงินค่าประกันความเสียหาย เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าหรือสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนเวลาไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ ผู้ให้เช่าไม่คืนเงินประกันความเสียหายให้ท่าน
         -ท่านเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ลิขสิทธิ์,สิทธิบัตร,เครื่องหมายการค้า ถูกคนอื่นละเมิดโดยการปลอมและเลียน นำไปใช้ ฯลฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน ทำให้ท่านได้รับความเสียหาย
         -หนี้สินอื่นๆ ที่ท่านมี หรืออยากให้เราจัดการให้
*****ปัญหาเหล่านี้ของท่านให้เป็นหน้าที่ของบริษัท สำนักกฎหมายลอว์เยอร์ คลัสเตอร์ จำกัด โดยทีมงานทางด้านติดตามเร่งรัดหนี้สินและทางด้านกฎหมายที่มีประสบการณ์การทำงานมากว่า 10 ปี พร้อมติดตามเร่งรัดหนี้สินให้แก่ท่านจนถึงที่สุด 
ค่ารับงานในการติดตามเร่งรัดหนี้สิน มีดังนี้
        บริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าดำเนินการติดตามเร่งรัดหนี้สินในการรับเรื่อง คือ เป็นค่าดำเนินการขั้นต้น (รวมค่าตรวจสอบรูปพรรณสัณฐาน,ค่ารับรองทะเบียนราษฎรลูกหนี้,ค่าคัดหนังสือรับรองนิติบุคคลลูกหนี้,หนังสือบอกกล่าวทวงถามลูกหนี้โดยทนายความ)ดังนี้
         1.)ยอดที่ให้ติดตามไม่เกิน 300,000 บาท มีค่ารับงานเรื่องละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
         2.)ยอดที่ให้ติดตามตั้งแต่ 300,001 บาท ขึ้นไป มีค่ารับงานเรื่องละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
เงื่อนไขการทำงาน มีดังนี้
         1.)บริษัทฯ จะเรียกเก็บค่ารับงานก่อนเริ่มทำงาน
         2.)ก่อนเริ่มงานทางบริษัทฯ  จะทำหนังสือสัญญารับจ้างติดตามเร่งรัดหนี้สินให้ท่าน
         3.)ให้ท่านหรือผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องทำการมอบอำนาจให้ทางบริษัทฯ ดำเนินการติดตามลูกหนี้ของท่านโดยการทำเป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมาย
         4.)หากทางบริษัทฯ ติดตามเร่งรัดลูกหนี้ให้ท่านได้แล้ว คิดค่าจ้างจากท่านอีก 20 % ของยอดหนี้ที่บริษัทฯ ติดตามได้ (คิดตามเกณฑ์เงินสดรับในแต่ละครั้ง)
         5.)มีระยะเวลาติดตามเร่งรัดหนี้สินดังกล่าวภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่รับงาน หากติดตามไม่ได้ทางบริษัทฯ จะแจ้งท่าน เพื่อเข้าสู่การดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป 
         6.)บริษัทฯ ไม่รับประกันผลงาน หากติดตามไม่ได้บริษัทฯ จะไม่คืนเงินค่ารับงานให้ท่าน เพราะถือว่าเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นแล้ว
        7.)ในการทำงานแต่ละครั้ง บริษัทฯ จะมีการรายงานความคืบหน้าให้ท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
ดูข้อมูลได้ที่ http://www.lawyercluster.co.th/

คลังบทความของบล็อก