จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ก่อให้เกิดสัญญา

                                           ลักษณะ 2
                                              สัญญา
                                              หมวด 1
                                       ก่อให้เกิดสัญญา
 
    มาตรา 354 คำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้นท่านว่าไม่อาจจะ
ถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้    มาตรา 355 บุคคลทำคำเสนอไปยังผู้อื่นซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางและมิได้บ่งระยะ
เวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอของตนเสียภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับ
คำบอกกล่าวสนองนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่ 
    มาตรา 356   คำเสนอทำแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า โดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง
นั้น เสนอ ณ ที่ใดเวลาใดก็ย่อมจะสนองรับได้แต่ ณ ที่นั้นเวลานั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้
ตลอดถึงการที่บุคคลคนหนึ่งทำคำเสนอไปยังบุคคลอีกคนหนึ่งทางโทรศัพท์ด้วย 
    มาตรา 357 คำเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้สนองรับภายในเวลา
กำหนดดังกล่าวมาในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดี คำเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพัน
แต่นั้นไป 
    มาตรา 358 ถ้าคำบอกกล่าวสนองมาถึงล่วงเวลาแต่เป็นที่เห็นประจักษ์ว่าคำบอกกล่าว
นั้นได้ส่งโดยทางการ ซึ่งตามปกติควรจะมาถึงภายในกำหนดไซร้ ผู้เสนอต้องบอกกล่าว
แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งโดยพลันว่าคำสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้น
ก่อนแล้ว
    ถ้าผู้เสนอละเลยไม่บอกกล่าวดั่งว่ามาในวรรคต้น ท่านให้ถือว่าคำบอกกล่าวสนองนั้น
มิได้ล่วงเวลา 
    มาตรา 359 ถ้าคำสนองมาถึงล่วงเวลา ท่านให้ถือว่าคำสนองนั้นกลายเป็นคำเสนอ
ขึ้นใหม่
    คำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยนั้น
ท่านให้ถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว 
    มาตรา 360 บทบัญญัติแห่งมาตรา 169 วรรคสองนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าหากว่าขัด
กับเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือหากว่าก่อนจะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่
แล้วว่าผู้เสนอตายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ 
    มาตรา 361 อันสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางนั้น ย่อมเกิดเป็นสัญญา
ขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ
    ถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือตามปกติประเพณีไม่จำเป็นจะต้องมีคำบอกกล่าว
สนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น อันจะ
พึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ 
    มาตรา 362 บุคคลออกโฆษณาให้คำมั่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทำการอันใด
ท่านว่าจำต้องให้รางวัลแก่บุคคลใด ๆ ผู้ได้กระทำการอันนั้น ถึงแม้มิใช่ว่าผู้นั้นจะได้
กระทำเพราะเห็นแก่รางวัล
    มาตรา 363 ในกรณีที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ เมื่อยังไม่มีใครทำการสำเร็จดั่งบ่งไว้นั้น
อยู่ตราบใด ผู้ให้คำมั่นจะถอนคำมั่นของตนเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่
จะได้แสดงไว้ในโฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน
    ถ้าคำมั่นนั้นไม่อาจจะถอนโดยวิธีดั่งกล่าวมาก่อน จะถอนโดยวิธีอื่นก็ได้แต่ถ้าเช่นนั้น
การถอนจะเป็นอันสมบูรณ์ใช้ได้เพียงเฉพาะต่อบุคคลที่รู้
    ถ้าผู้ให้คำมั่นได้กำหนดระยะเวลาให้ด้วยเพื่อทำการอันบ่งนั้นไซร้ท่านให้สันนิษฐาน
ไว้ก่อนว่าผู้ให้คำมั่นได้สละสิทธิที่จะถอนคำมั่นนั้นเสียแล้ว 
    มาตรา 364 ถ้าบุคคลหลายคนกระทำการอันบ่งไว้ในโฆษณาท่านว่าเฉพาะแต่คนที่
ทำได้ก่อนใครหมดเท่านั้น มีสิทธิจะได้รับรางวัล
    ถ้าบุคคลหลายคนกระทำการอันนั้นได้พร้อมกัน ท่านว่าแต่ละคนมีสิทธิจะได้รับ
รางวัลเป็นส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน แต่ถ้ารางวัลนั้นมีสภาพแบ่งไม่ได้ก็ดี หรือถ้าตามข้อ
ความแห่งคำมั่นนั้น บุคคลแต่คนเดียวจะพึงรับรางวัลก็ดี ท่านให้วินิจฉัยด้วยวิธี
จับสลาก
    บทบัญญัติดั่งกล่าวมาในวรรคทั้งสองข้างต้นนั้น   ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าในโฆษณา
นั้นแสดงเจตนาไว้เป็นอย่างอื่น 
    มาตรา 365   คำมั่นจะให้รางวัลอันมีความประสงค์เป็นการประกวดชิงรางวัลนั้น
จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้กำหนดระยะเวลาไว้ในคำโฆษณาด้วย
    การที่จะตัดสินว่าผู้ประกวดคนไหนได้การทำสำเร็จตามเงื่อนไขในคำมั่นภายในเวลา
กำหนดหรือไม่ก็ดี หรือตัดสินในระหว่างผู้ประกวดหลายคนนั้นว่าคนไหนดีกว่ากัน
อย่างไรก็ดี ให้ผู้ชี้ขาดซึ่งได้ระบุชื่อไว้ในโฆษณานั้นเป็นผู้ตัดสิน หรือถ้ามิได้ระบุชื่อ
ผู้ชี้ขาดไว้ก็ให้ผู้ให้คำมั่นเป็นผู้ตัดสินคำตัดสินอันนี้ย่อมผูกพันผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยทุกฝ่าย
    ถ้าได้คะแนนทำดีเสมอกัน ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 364 วรรค 2 มาใช้บังคับ
แล้วแต่กรณี
    การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ทำขึ้นประกวดนั้น ผู้ให้คำมั่นจะเรียกให้โอนแก่ตนได้
ต่อเมื่อได้ระบุไว้ในโฆษณาว่าจะพึงโอนเช่นนั้น 
    มาตรา 366 ข้อความใด ๆ แห่งสัญญาอันคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่า
เป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้น หากคู่สัญญายังไม่ตกลงกันได้หมด
ทุกข้ออยู่ตราบใด เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกัน การที่ได้ทำ
ความเข้าใจกันไว้เฉพาะบางสิ่งบางอย่าง ถึงแม้ว่าจะได้จดลงไว้ก็หาเป็นการผูกพันไม่
    ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้   เมื่อกรณีเป็นที่
สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ 
    มาตรา 367 สัญญาใดคู่สัญญาได้ถือว่าเป็นอันได้ทำกันขึ้นแล้วแต่แท้จริงยังมิได้ตกลง
กันในข้อหนึ่งข้อใด อันจะต้องทำความตกลงให้สำเร็จ ถ้าจะพึงอนุมานได้ว่า ถึงหากจะ
ไม่ทำความตกลงกันในข้อนี้ได้สัญญานั้นก็จะได้ทำขึ้นไซร้ ท่านว่าข้อความส่วนที่ได้ตกลง
กันแล้วก็ย่อมเป็นอันสมบูรณ์ 
    มาตรา 368 สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์
ถึงปกติประเพณีด้วย                          
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก