จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

การทำแท้งที่ไม่ผิดกฎหมาย

  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305  บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และ 302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ และ

         (1)จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ
         (2)หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตามทีบัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 และมาตรา 284 ผู้กระทำไม่มีความผิด"
หลักการทำแท้งที่ไม่ผิดกฎหมาย มีดังนี้
          1)การทำแท้งจะต้องเป็นการกระทำของแพทย์และหญิงมีครรภ์ยินยอมให้แพทย์ทำแท้ง และ
         2)แพทย์ที่ทำแท้งจะต้องกระทำไปเพื่อความจำเป็นเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น คือ แพทย์เห็นว่าหากไม่ทำแท้งแล้วจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและจิตใจของหญิงนั้น หรือ      
         3)หญิงมีครรภ์ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากการกระทำความผิดอาญา คือ ถูกข่มขืน,ถูกกระทำชำเรา (ตามมาตรา 276,277,282,283,284)
         หากเข้าเงื่อนไขดังกล่าวของมาตรา 305 แล้ว การทำแท้งจะไม่ผิดกฎหมาย (ต้องครบองค์ประกอบของกฎหมายด้วย)
ข้อสังเกตุ
       1)ผู้ที่จะทำแท้งได้จะต้องเป็นแพทย์เท่านั้น คนอื่นทำไม่ได้ ผิดกฎหมาย
       2)แพทย์จะทำแท้งได้ต่อเมื่อหญิงมีครรภ์ให้ความยินยอม หากหญิงไม่ให้ความยินยอม แพทย์จะทำแท้งไม่ได้ แพทย์มีความผิด
       3)หากแพทย์วินิจฉัยว่าเด็กที่คลอดออกมานั้นพิการแขนขาหรือตาบอด แพทย์จะทำแท้งไม่ได้ ถึงแม้หญิงมีครรภ์จะให้ความยินยอมก็ตาม แพทย์ที่ทำแท้งมีความผิด เพราะกฎหมายอนุญาตให้หญิงทำแท้งได้หากเป็นอันตรายต่อสุขภาพของหญิงนั้น แต่กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำแท้งเพราะเด็กพิการแขนขาหรือตาบอด (กฎหมายคุ้มครองสุขภาพของหญิง แต่ไม่คุ้มครองสุขภาพของเด็กนั้นเอง)
       4)กฎหมายอนุญาตให้หญิงทำแท้งได้ถ้าหญิงนั้นมีครรภ์เพราะถูกข่มขืน ถูกกระทำชำเรา เมื่อหญิงนั้นต้องตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมแล้วยังต้องมาเลี่ยงดูเด็กที่เกิดจากผู้ร้ายอีก ซึ่งเป็นผลร้ายต่อสภาพร่างกายและจิตใจของหญิงนั้น กฎหมายให้ทางเลือกหญิงนั้นทำแท้งได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก