จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างกระทำความผิด

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 ได้กำหนดกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่กระทำความผิด ดังนี้

       1.)ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
       2.)ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
       3.)ลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
       4.)ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำความผิด
       5.)ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
       6.)ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้ถึงที่สุดให้จำคุก
       ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
        การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
        ดังนั้น สรุปเหตุที่นายจ้างจะอ้างเพื่อเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยลูกจ้างจะต้องกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 1 ถึง 6 และนายจ้างต้อง
        1.)ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง (กรณีนายจ้างบอกเลิกจ้างเป็นหนังสือถึงลูกจ้าง)
         2.)แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง (กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างด้วยวาจา)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.lawyercluster.co.th/บทความกฎหมายทั่วไป/กฎหมายแรงงาน/นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างกระทำความผิด.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก